วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การปลูกกระชาย พืชสมุนไพร

จากการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมของไทยเมื่อปี 2548 ที่ทำรายได้ถึงสี่หมื่นล้านบาท ทำให้ไทยนั้นมียุทธศาสตร์พัฒนาสมุนไพร เพื่อให้ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เลือกประโยชน์สมุนไพรตามที่ตลาดต้องการ นั่นคือช่วยชะลอความชรา บำรุงกำลังและช่วยลดความอ้วน ซึ่งกระชายก็มีคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมด
ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักสมุนไพรที่เรียกว่าโสม หรือว่า ginger ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสมุนไพรของจีนหรือของเกาหลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกคุณสมบัติด้านสมุนไพรที่เด่นของโสมคือว่าเชื่อว่าเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายผู้บริโภคได้ดังที่ชาวไทยจะเรียกทีมนักกีฬาเกาหลีว่าทีมพลังโสมเป็นต้น กระชายมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระชายเหลืองกับกระชายดำ เป็นหลัก ซึ่งกระชายดำกำลังเป็นที่นิยม จนกระทั่งกระชายเหลืองรู้สึก

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปูนา

ปูนา
ปูนาเป็นปูน้ำจืดที่พบมีอยู่ทั่วไปตามทุ่งนาและในที่ลุ่มของประเทศไทย เป็นกลุ่มปูที่มีวิถีชีวิต มีระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่อาศัย แตกต่างไปจากปูลำห้วย (creek crab) ปูน้ำตก (waterfall crab หรือ stream crab) และปูป่า (land crab) ด้วยเหตุนี้นักอนุกรมวิธานจึงได้แยกปูนาออกจากปู 3 กลุ่มข้างต้น และจัดให้อยู่ในวงค์ Parathelphusidae ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้ :
1. Somanniathelphusa germaini พบใน 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก1จังหวัด ภาคใต้1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด
2. S. bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
3. S. sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
4. S. maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่พบในแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
5. S. fangensis เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดลำปางและเชียงใหม่
6. S. denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบใน จังหวัดแพร่
7. S. nani เป็นปูชนิดใหม่ล่าสุดที่พบใน จังหวัดน่าน และ
8. S. dugasti (Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด และภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาค

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกุ้งฝอย

กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในภูมิภาคของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เช่น กุ้งเต้น ทอดมันกุ้ง กุ้งฝอยทอด กุ้งฝอยมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้ง โปรตีนและแคลเซียม ปัจจุบันนี้กุ้งฝอยเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งใช้กุ้งฝอยเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาบู่ ปลาช่อน ปลากราย และปลาสวยงาม ทำให้เกิดความไม่เพียงพอต่อความต้องการที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้น ขณะนี้ราคากุ้งฝอยในท้องตลาดตั้งแต่กิโลกรัมละ 300-400 บาท มีเกษตรกรบางรายนำมาเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย ผลปรากฏว่า อัตราการรอดต่ำ เลี้ยงอย่างหนาแน่นไม่ได้ และอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืด ชอบซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินหรือเกาะตามพรรณไม้ ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ น้ำขุ่น ลึกไม่เกิน 1 เมตร มีอินทรียวัตถุทับถมกัน กุ้งฝอยเพศเมียจะเริ่มมีไข่และผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 60 วันขึ้นไป จะสร้างไข่เก็บไว้ในถุงเก็บไข่ กุ้งเพศผู้จะพยายามติดตามกุ้งเพศเมียตลอดเวลา หลังจากกุ้งเพศเมียลอกคราบภายใน 3-6 ชั่วโมง ขณะที่เปลือกของกุ้งเพศเมียยังอ่อนอยู่จะมีการผสมพันธุ์กัน โดยกุ้งเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อที่อยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อที่อยู่บริเวณโคนขาช่วงที่ 5 ปล่อยน้ำเชื้อในถุงเก็บน้ำเชื้อเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ ไข่ที่ผสมแล้วจะเคลื่อนไปอยู่ในส่วนล่างของท้องบริเวณขาว่ายน้ำ กุ้งเพศเมียจะพัดโบกขาว่ายน้ำตลอดเวลา เพื่อให้ไข่ได้รับออกซิเจน แม่กุ้งฝอยขนาดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร จะมีไข่ประมาณ 200-250 ฟอง หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3 วัน ไข่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและสีเหลือง ต่อมาอีก 7-9 วัน จะมองเห็นตาของตัวอ่อนอย่างชัดเจน หลังจากนั้นไข่ในท้องแม่กุ้งฝอย จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและฟักออกมาเป็นตัวเมื่ออายุ 21-25 วัน
วิธีการเพาะกุ้งฝอย
วิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย สามารถเพาะเลี้ยงได้ 2 วิธี คือ การนำพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ประมาณ 50 ตัว ปล่อยลงในบ่อเลี้ยงที่มีกระชังภายในบ่อ เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยผสมพันธุ์กันเอง วิธีนี้ใช้เวลา 2-3 เดือน แต่จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 20-30% เนื่องจากกุ้งมีขนาดที่ต่างกัน กุ้งจะกินกันเอง เพราะมีทั้งกุ้งฝอยขนาดใหญ่และขนาดเล็กปะปนกัน อีกวิธีหนึ่งคือ การคัดแม่พันธุ์ที่มีไข่แล้วมาขยายพันธุ์ มีอัตราการรอดชีวิต 80% มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงขอแนะนำเกษตรกรใช้วิธีนี้ เนื่องจากจะได้กุ้งฝอยที่มีขนาดเดียวกัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ การลงทุนต่ำ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
วิธีเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์
การเพาะเลี้ยง
เริ่มต้นจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวนประมาณ 80-100 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังอย่างน้อย 1 คืน คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ มองเห็นตาของลูกกุ้งในท้อง เพาะฟักในตะแกรงที่แขวนไว้ในกระชังผ้า ขนาด 1x1x1 เมตร ในบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว แยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ปริมาณ 50,000 ตัว ในบ่อขนาด 1x1x1 เมตร สัปดาห์แรก ให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร สัปดาห์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็ก

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามคุณภาพ


สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บล็อกนานาสาระเกษตร วันนี้จะนำเรื่องของกุ้งก้ามกรามคุณภาพ มาฝากกันค่ะ เพราะขณะนี้ตลาดกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงมาก และสามารถเลี้ยงได้อีกด้วยค่ะ

กุ้งคุณภาพเพื่อการบริโภคและการส่งออก จะต้องสด สะอาด รสชาติดี ไม่มีสารตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และระบบการผลิตจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปัญหาที่ผ่านมา การเลี้ยงแบบดั้งเดิมส่วนมากไม่ได้ทั้งคุณภาพและผลผลิต สาเหตุ : ใช้กุ้งสายพันธุ์ดั้งเดิม ตัวเล็ก โตช้า ไม่มีบ่อพักน้ำ ไม่มีการให้อากาศ (เครื่องตีน้ำ) ทำอาหารใช้เอง คุณภาพไม่แน่นอน น้ำเลี้ยงและพื้นบ่อเน่าเสียได้ง่าย ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น มีการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหายาตกค้างไม่สามารถส่งออกได้
แนวทางการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามคุณภาพ ใช้ลูกกุ้งสายพันธุ์ใหม่ ที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว กุ้งตัวโตกว่าและโตเร็วกว่าเดิม มีบ่อพักน้ำ ใช้เครื่องให้อากาศบ่อละ 1 เครื่อง ใช้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพแน่นอนสม่ำเสมอกว่า อนุบาลลูกกุ้งก่อนแล้วย้ายบ่อ แยกเพศ จะทำให้ได้กุ้งตัวโตกว่า ราคาสูงและให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเลี้ยงแบบดั้งเดิม