สาระผักพื้นบ้าน

พืชถอนพิษ
พญาปล้องทอง เสลดพังพอน 
Herbal. 8. พญาปล้องทอง Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau ACANTHACEAE ชื่ออื่น ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องคำ พญาปล้องดำ พญายอ เสลดพังพอน เสลดพังพอนตัวเมีย รูปลักษณะ ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลแห้ง แตกได้ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบสด – ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา ใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด
.................................................................................................................................
ผักบุ้งทะเล
Herbal. 7. ผักบุ้งทะเล Goat’s Foot Creeper Ipomoea pes-caprae (Linn.) R. Br. CONVOLVULACEAE รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก เลื้อยตามผิวดิน มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมียาวขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 7-11 ซม. ยาว 5-8 ซม. ค่อนข้างหนา โคนใบรูปหัวใจ ปลายเว้าลึก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงชมพู โคนติดกัน ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมหรือรูปไข่ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบ – ใช้แก้พิษแมงกะพรุน นำใบสด 10-15 ใบ ตำละเอียด คั้นเอาน้ำ ทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือตำกับเหล้าใช้พอกก็ได้ พบว่ามีสาร damascenone ที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ ต้านพิษแมงกะพรุนได้
.................................................................................................................................
ผักชีล้อม
Herbal. 6. ผักชีล้อม Oenanthe stolonifera Wall. APIACEAE ชื่ออื่น ผักอันอ้อ รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 60 ซม. ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ลำต้นกลวง อวบน้ำ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว ก้านดอกย่อยยาวเท่ากัน ผลแห้ง แตกได้ รูปไข่กลับ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ทั้งต้น – ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นส่วนผสมในตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร เพื่อรักษาเหน็บชา ขับเหงื่อ
.................................................................................................................................
ประยงค์
Herbal. 5. ประยงค์ Aglaia odorata Lour. MELIACEAE ชื่ออื่น ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม หอมไกล รูปลักษณะ ไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร มีใบดก ปลายยอดอ่อน หุ้มด้วยใบเกล็ดสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 5 ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อโปร่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ 2 มม. กลิ่นหอม กลีบดอกสีเหลือง ผลสด มี 1-2 เมล็ด สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ราก ใช้กินถอนพิษเบื่อเมา เป็นยาทำให้อาเจียน
.................................................................................................................................
บัวบก
Herbal. 4. บัวบก Asiatic Pennywort, Tiger Herbal Centella asiatica (Linn.) Urban APIACEAE ชื่ออื่น ผักแว่น ผักหนอก รูปลักษณะ ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบสด – ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน
.................................................................................................................................
นมสวรรค์ฺ
Herbal. 3. นมสวรรค์ Clerodendrum paniculatum Linn. VERBENACEAE ชื่ออื่น ฉัตรฟ้า สาวสวรรค์ พวงพีเหลือง หังลิง พนมสวรรค์ รูปลักษณะ ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7-38 ซม. ยาว 4-40 ซม. ขอบใบหยักเว้า ลึก 3-7 แฉก ดอกช่อ ขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆังสีส้มแดง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว สีส้มแดง ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ดอก – แก้พิษสัตว์กัดต่อย และพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ แก้ตกเลือด ราก – ขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการไข้ที่ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด
.................................................................................................................................
ชองระอา เสลดพังพอน 
Herbal. 2. ชองระอา Barleriaiupulina Lindl. ACANTHACEAE ชื่ออื่น เสลดพังพอน เสลดพังพอนตัวผู้ รูปลักษณะ ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร มีหนามแหลมยาวข้อละ 2 คู่ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกยาวหรือ รูปขอบขนาน กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 8 ซม. ใบประดับค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองส้ม โคนเชื่อมติดเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมีกลีบขนาดใหญ่ 4 กลีบ กลีบล่างเล็กกว่า มี 1 กลีบ ผล เป็นฝัก รูปไข่ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา ใบ
.................................................................................................................................
กระแจะ 
Herbal. 1. กระแจะ Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson (Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.) RUTACEAE ชื่ออื่น ขะแจะ ตุมตัง พญายา รูปลักษณะ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบ แบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่สลับ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นผลสด รูปทรงกลม สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา แก่น – ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง) ลำต้น – ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว

แหล่งที่มา : http://soclaimon.wordpress.com
.................................................................................................................................
ผักที่มีใยอาหารสูง 10 อันดับ ได้แก่
1.ยอดมันปู มี16.7 กรัม
ชื่ออท้องถิ่น มันปู ยอดเทะ (ยอดกะทิ) นกนอนทะเล
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Glochidion Perakense Hook.f.
- Glochidion wallichianum Muell.Arg.
- Littorale Bl.
ลักษณะลำต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 5-6 เมตร
ลักษณะใบ ใบรีปลายแหลม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีแดง ผิวหน้าใบลื่นเป็นมัน
ลักษณะดอก ออกดอกเป็นกระจุก แต่ละดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อน เกสรสีเหลือง ออกดอกตลอดแนวกิ่งระหว่างโคนใบ
ลักษณะผล ออกผลตามลำกิ่ง ผลกลมแบบขนาดเล็กกว่าเมล็ด พริกไทยเล็กน้อยมีลักษระเป็นพู 4 พู มีเมล็ดข้างใน 4 เมล็ด เมล็ดที่สุกสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน
ใช้เป็นอาหารประเภท ยอดอ่อนกินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีน
รสชาติ หวาน มัน อมฝาดนิดหน่อย
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ด ตอนกิ่ง หรือขุดเอาต้นเล็กไปปลูก ส่วนมากขึ้นเองตามธรรมชาติ
พื้นที่ที่เจริญเติบโตได้ดี ที่ชื้นแฉะ
ฤดูกาลที่ให้ผลผลิต ตลอดปี
ส่วนที่เป็นพิษ ไม่มี
ประโยชน์ใช้สอย ไม่มี
สรรพคุณทางสมุนไพร ใบช่วยเจริญอาหาร รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ทั้งต้น ต้มแก้ไขร้อนเย็น
.................................................................................................................................
2.ยอดหมุย มี 14.2 กรัม
หมุย สรรพคุณด้านสมุนไพร ราก แก้พิษงู ไข้ ผิวต้นรักษาบาดแผล แก้พิษงู
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอดอ่อนและดอก
การปรุงอาหาร กินเป็นผักสดกับน้ำพริก แกงเผ็ดหรือขนมจีน
.................................................................................................................................
3. ยอดสะเดา มี 12.2 กรัม
สะเดา
สรรพคุณด้านสมุนไพร ยอดและดอกมีรสขมจัด ช่วยบรรเทาความร้อนและช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ทุกชนิด บำรุงธาตุ
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบและดอกอ่อน
การปรุงอาหาร นำมาเผาไฟหรือลวก กินกับน้ำพริก
ในระยะที่มียอดและดอกสะเดาออกมาก กินไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บไว้กินนานๆ โดยนำมาลวกแล้วตากแดด 2-3 แดด เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการบริโภคก็จะนำมาลวกน้ำร้อนอีกครั้ง จะได้สะเดาที่มีรสดีเหมือนสะเดาสดทุกประการเล
.................................................................................................................................
4.เนียงรอก มี 11.2 กรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Archidendron jiringa Nielsen 
ชื่อพ้อง : Pithecellobium lobatum Benth., 
P. jirniga (Jack) Prain ex King
วงศ์ : Fabaceae 
ชื่ออื่นๆ : ขาวแดง คะเนียง ชะเนียง ชะเอียง เจ็งโกล ตานิงิน เนียง เนียงใหญ่ เนียงนก ผักหละต้น พะเนียง มะเนียง มะเนียงหย่อง ยิริงหรือยือริง ยินิกิง หย่อง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา 
................................................................................................................................. 
5..ดอกขี้เหล็ก 9.8 กรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cassia Siamea Britt
ชื่อวงศ์
Leguminosae
ชื่อท้องถิ่น
ลำปางเรียก ขี้เหล็กบ้าน แม่ฮ่องสอนเรียก ผักจี้ลี้ ภาคเหนือเรียก ขี้เหล็กหลวง ภาคกลางเรียก ขี้เหล็กใหญ่ ภาคใต้เรียก ขี้เหล็กจิหรี่
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีใบประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 6–10 คู่ ใบเลี้ยงปลายใบมนหยักเว้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียวใต้ใบซีดกว่าด้านบน ใบมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อใหญ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองสด ผักแบนหนามีสีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณทางยา
ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร
วิธีนำมาใช้
อาการท้องผูก ใช้ใบอ่อนและใบแก่ 4–5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการนอนไม่หลับ กังวลเบื่ออาหาร ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสด หนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดอกเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน เปิดคนทุกวัน แล้วกรองกากยาออกจะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก ดื่มครั้งละ 1–2 ช้อนชาก่อนนอน
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบอ่อนและดอก พบว่า มีสารจำพวก Chromone มีชื่อว่า Barakol ส่วนในใบพบสาร Anthraquinones ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย และ พ.ศ.2492 คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ศึกษาโดยใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ พบว่าสารสกัดจากใบขี้เหล็กด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ระงับประสาทได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย และระงับอาการตื่นเต้นทางประสาทได้แต่ไม่ใช่ยานอนหลับโดยตรง และไม่พบอาการเป็นพิษ มีความปลอดภัยสูง
...............................................................................................................................
6.ผักแพว 9.7กรัม
ผักแพวเป็นผักพื้นบ้านจำพวกพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง ผักแพวเป็นผักที่อยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE ซึ่งตัวอย่างของพืชที่อยู่ในวงศ์นี้นอกจากมีผักแพวแล้วก็ยกตัวอย่างเช่น ผักไผ่น้ำ เป็นต้น
ผักแพว เป็นผักปลูกในกระถางจะง่ายและขายเป็นกระถางได้เลยผักแพว เป็นชื่อที่รู้กันทั่วทั้งแผ่นดินไทย แต่ด้วยความเป็นผักพื้นบ้านนี่เอง ทำให้ผักแพวมีหลายชื่อต่างไปตามถิ่น ภาคอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า (ทางอีสานออกเสียง "พิกม่า") ผักจันทน์โฉม (เรียกกันมากในจังหวัดนครราชสีมา) ภาคเหนือเรียกผักไผ่ เพราะผักแพวมีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่ เพราะลักษณะที่เหมือนไผ่ดังกล่าวนี้เอง ผักแพวจึงรู้จักแพร่หลายต่อมาในชื่อว่า "ผักไผ่"
...............................................................................................................................
7.ยอดมะยม
มะยม เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่เบี้ยว หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
...............................................................................................................................
8.ใบเหลียง 8.8 กรัม
ชื่ออื่น เลียง เหมียง เขรียง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เหลียง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว คล้ายใบยางพารา กว้าง ๔-๑๐ เซนติเมตร ปลายใบเรียวปลายแหลม สีเขียวเป็นมันสดใส แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งรับแสงแดด สีใบจะจาง ดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตามข้อกิ่ง ช่อยาวประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ต้นที่มีอายุ ๕-๖ ปีขึ้นไปจึงจะมีดอก และไม่แน่นอนทุกปี คือ ถ้าปีใดฝนตกมากจะไม่เป็นดอก ถ้าแล้งจะออกดอกและติดผลมาก ผลกลมยาวคล้ายไข่ ผลเมื่อแก่เปลือกและเนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลือง เปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างบาง ในหนึ่งช่อมีประมาณ ๑๐-๒๐ ผล
แหล่งที่พบเหลียงชอบขึ้นในป่าดงดิบบนภูเขาที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ มีมากในภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดระนองและชุมพรการขยายพันธุ์ ทำโดยการเพาะเมล็ด กิ่งตอน ปักชำกิ่ง และแยกต้นแขนง การปลูกจากกิ่งตอนทรงพุ่มจะดี ให้ผลผลิตเร็วและมาก การบริโภคและสรรพคุณใบอ่อนและยอดอ่อนของเหลียงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างนิยมใช้แกงเลียง ห่อเมียงคำ (จะลวกก่อน) รองห่อหมกไว้ก้นกระทง ผัดวุ้นเส้น ลวกจิ้มกับน้ำพริก ต้มกะทิ ผัดต่างๆ แกงจืดหมูสับ ใบเหลียงมีรสชาติหวานมัน ใบผักเหลียงที่อร่อยควรเป็นผักเหลียงที่ขึ้นในที่ร่ม เหลียงมีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อรับประทานแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง กระปรีกระเปล่า แก้กระหายน้ำ นอกจากนี้เหลียงยังมีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยลอกฝ้า
.................................................................................................................................
9.หมากหมก 7.7 กรัม 


ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepionurus sylvestris Blume
ชื่อพื้นเมือง: ผักหวานใบแหลม
ชื่อวงศ์: OPILIACEAE
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์:
เป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้น สูง 0.5-1 เมตร ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรีหรือขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบสอบเรียวสั้นหรือกลม ดอก เป็นช่อแบบกระจะ มีขนาดเล็กห้อยลงออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มรอบช่อดอก ผลรูปกลมรี ขนาด 0.7-0.8 x 0.9-1.0 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงช่วงการออกดอกและติดผล: เกือบตลอดปี นิเวศวิทยา: พบทั่วไปในป่าดิบชื้นและป่าโปร่ง
ประโยชน์: ใบใช้บริโภคเป็นผักสด การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
.................................................................................................................................
10.ผักเม่า มี 7.1 กรัม
สรรพคุณของหมากเม่า  ช่วยระบายท้อง ขับเสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต บำรุงธาตุน้ำ ส่วนใบยังต้มให้สตรีหลังคลอดเพื่ออาบ เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี ลำต้น ราก ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอื่น ๆ อีกมากมาย
หมากเม่า มีบทบาทมากขึ้น หลังจากวิจัยพบว่า หมากเม่า มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย จึงมีการคิดค้นแปรรูป ผลผลิตจากผลหมากเม่าสดออกมา ในรูปของ "ไวน์หมากเม่า"  สามารถทำเป็นสินค้าส่งออกยังต่างประเทศ  เพราะได้รับความนิยมจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ชาวท้องถิ่น มีการทำสวนหมากเม่ามากขึ้น ปลูกทำเป็นสวนใหญ่ขนาดใหญ่ เนื้อที่มากมาย  นอกจากที่ปลูกในพื้นที่อีสานแล้ว ชาวสวนในภาคกลาง  นำต้นหมากเม่า มาขยายพันธุ์และปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นต้น
ซึ่งใยอาหารในผัก ทำให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิด ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
.................................................................................................................................
 ผักที่มีแคลเซียมสูงที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1.หมาน้อยมี 423 มิลลิกรัม
หมาน้อย ที่มีขาเป็นเครือพันกับเสาหลัก สามารถผลิตวุ้นธรรมชาติ ยาเย็น อาหารเพื่อสุขภาพของพี่น้องชาวอีสานไทย-ลาว  ตอนที่เป็นเด็ก ๆ เดินเข้าไปในชายทุ่งนาและในป่าจะเห็น ไม้เถาเลื้อย เป็นเครือ พันกับหลักหรือพันกับต้นไม้ ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ โคนใบเป็นแบบก้นปิด หน้าใบและหลังใบมีขนปกคลุมหนา เวลาเอามือลูบที่ใบจะเป็นขนมัน นุ่ม ๆ เหมือนขนหมาน้อย ชาวบ้านจะเรียกว่า ต้น เครือหมาน้อย  ใช้ปรุงผสมกับน้ำ ใบย่านาง ซึ่งพืชทั้งสองชนิด เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาปรุงรสกับปลาป่น ป่นกบ น้ำที่ปรุงจะข้นจนเกิดเป็นวุ้น...ส่วนวิธี การปรุงอาหาร ประเภทนี้คือ
เลือกใบ 
เครือหมาน้อย ที่มีสีเขียวเข้มโตเต็มที่ ๑๐-๓๐ ใบ ล้างใบแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด ๑ ถ้วย ในขณะที่ขยี้ใบ จะมีความรู้สึกว่าน้ำที่ขยี้ออกมามีลักษณะเมือกลื่นๆ หลังจากนั้นกรองเอากากใบเครือหมาน้อยออก นอกจากนั้นคั้นน้ำจากใบย่านาง ผสมลงไปด้วยเพื่อทำให้วุ้นแข็งตัวอย่างรวดเร็ว เทน้ำวุ้นดังกล่าว ลงไปในถ้วนป่นกบหรือปลาป่นที่ปรุงรสชาดแล้ว หั่นหัวหอม น้ำปลา ข้าวคั่ว ใบหอม และผักชี ถ้าอยากแซบมากกว่านี้ ผสมน้ำปลาร้าสักหน่อย แต่ถ้าปรารถนาจะทานเป็นของหวาน คั้นน้ำใบเตยใส่เพิ่มลงไปสักนิดเพื่อกลิ่นหอม ใส่เกลือเล็กน้อย เพื่อช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น  เทใส่ถ้วยทิ้งไว้พอประมาณ น้ำคั้นจะจับตัวเป็นวุ้น ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า วุ้นหมาน้อย เติมน้ำตาลลงไปสักหน่อยทำให้มีรสหวาน ใช้ทานเป็นอาหารว่าง รสชาดอร่อยมาก
จากการศึกษา เกี่ยวกับสรรพคุณทางยา วุ้นหมาน้อยมีประโยชน์ทางยาหลายประการคือ เป็นยาเย็น ช่วยย่อย แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้เจ็บคอ
.................................................................................................................................


2.ผักแพวมีแคลเซียม390 มิลลิกรัม
ผักแพวเป็นผักพื้นบ้านจำพวกพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง ผักแพวเป็นผักที่อยู่ในวงศ์ POLYGONACEAE ซึ่งตัวอย่างของพืชที่อยู่ในวงศ์นี้นอกจากมีผักแพวแล้วก็ยกตัวอย่างเช่น ผักไผ่น้ำ เป็นต้น
ผักแพว เป็นผักปลูกในกระถางจะง่ายและขายเป็นกระถางได้เลยผักแพว เป็นชื่อที่รู้กันทั่วทั้งแผ่นดินไทย แต่ด้วยความเป็นผักพื้นบ้านนี่เอง ทำให้ผักแพวมีหลายชื่อต่างไปตามถิ่น ภาคอีสานเรียกว่าผักแพ้ว ผักพริกม้า (ทางอีสานออกเสียง "พิกม่า") ผักจันทน์โฉม (เรียกกันมากในจังหวัดนครราชสีมา) ภาคเหนือเรียกผักไผ่ เพราะผักแพวมีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่ เพราะลักษณะที่เหมือนไผ่ดังกล่าวนี้เอง ผักแพวจึงรู้จักแพร่หลายต่อมาในชื่อว่า "ผักไผ่"
ผักแพวหรือผักไผ่เกิดเองตามธรรมชาติ ตามที่ชื้นพื้นราบ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ตามแอ่งน้ำต่างๆ แต่เดิมผักแพวเป็นผักหาง่าย ไม่มีการปลูก ไปเก็บเอาเมื่อไปหาหอย ช้อนกุ้ง จับปู ผักที่เด็ดตามมาด้วยก็คือ ผักแพว ซึ่งเป็นผักคู่กับเครื่องปรุงธรรมชาตินั่นเอง ผักแพวยังขึ้นตามป่า ตามโคนกอไผ่อีกด้วย ต่อมาแผ่นดินแล้งขึ้น ห้วย หนอง คลอง บึง ก็แห้งไปด้วย ผักแพวจึงถูกนำมาปลูกเป็นผักสวนครัวที่ขาดไม่ได้ ปลูกง่ายๆ ด้วยการชำกิ่งเท่านั้น เพราะบริเวณข้อลำต้นรากจะงอกได้ง่าย ต้นสูงสักคืบสองคืบเท่านั้น เป็นไม้ล้มลุก มีอายุลำต้นเพียงปีเดียว แต่โอกาสจะอยู่ชั่วอายุขัยของต้นก็ยาก เพราะชาวบ้านจะหักกินตั้งแต่โคนต้นมากินตลอดเป็นระยะกินยอด กินใบได้ตลอดลำต้น เพราะใบอ่อน เส้นใยไม่หยาบกระด้าง
ผักแพว นิยมกินเป็นผักแกล้มอาหารรสจัดๆ ทุกชนิด ถือเป็นผักชนิดสำคัญที่ขาดจากกระจาดผักกินแนมของอาหารอีสาน อาหารเหนือ หรือแม้แต่อาหารเวียดนามไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะผักแพวมีรสชาติเฉพาะตัว มีกลิ่นหอม มีรสร้อนแรง กินมากๆ จะรู้สึกว่ามีรสปร่าในปาก ผักแพวนิยมนำไปคลุกเป็นเครื่องปรุงสด อาหารประเภทลาบ โดยเฉพาะก้อยกุ้งสด (กุ้งฝอย กุ้งน้ำจืด) นอกจากนี้ยังใส่แกงประเภทปลารสจัดเพื่อตัดกลิ่นคาวปลาอีกด้วย นำมาใส่ปรุงรสอาหารประเภทหอยขมสารพัดการปรุงแบบพื้นบ้าน ทางภาคเหนือนิยมนำมาใส่ต้มยำ โดยเฉพาะลาบ ถ้าขาดผักแพวก็ถือว่าไม่ใช่ลาบทางเหนือเลยทีเดียว
แต่เดิมเมื่อไม่นานมานี้ ผักแพวไม่มีการซื้อขาย หากแต่ไปเก็บเอาตามธรรมชาติหรือไม่ก็ขอจากสวนครัวเพื่อนบ้าน เพราะผักแพวปลูกง่าย โตเร็ว ชอบอากาศเย็น จึงเจริญเติบโตดีในฤดูหนาวและยุบตัวในฤดูร้อนจัดๆ แต่ถ้าหมั่นรดน้ำให้อยู่ในที่แดดรำไรหรืออยู่ตามโคนต้นไม้ใหญ่ เราก็สามารถปลูกผักแพวให้กินกันได้ทั้งปี
ผักแพวเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติทางยาสมุนไพร มีรสเผ็ดร้อน จึงมีสรรพคุณในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอสูงมาก นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมและวิตามินซีอีกด้วย
.........................................................................................................................................
3.ยอดสะเดาแคลเซียมมี 384 มิลลิกรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim ,Margosa,Quinine
วงศ์ :  Meliaceae  ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี
ส่วนที่ใช้ :สรรพคุณ : ดอก ยอดอ่อน  - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
ยาง - ดับพิษร้อน
แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : เป็นยาขมเจริญอาหาร
ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
ใช้เป็นยาฆ่าแมลงสะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย
สารเคมี : ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin   ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขมเมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย
...........................................................................................................................................
4.กะเพราขาวมีแคลเซียม 221 มิลลิกรัม
กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum)
เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว
กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อ (เชียงใหม่) กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว (กลาง) กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะ: ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขน ดอกเป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม. ผลแห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
สรรพคุณ :ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
 เมล็ด : เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก : ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม
........................................................................................................................................
5.ใบขี้เหล็กมี 156 มิลลิกรัม
ขี้เหล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna siamea Lam.) จัดเป็นพืชในวงศ์Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ด
รูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol)
.................................................................................................................................
6.ใบเหลียงมีแคลเซี่ยม 151 มิลลิกรัม
ผักเหลียง เป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒ เมตร มีใบเรียวยาว สามารถนำยอดของผักเหลียงมารับประทานได้ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่ แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง หรือ นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากของชาวภาคใต้ผักเหลียงจัดเป็นผักพื้นบ้านประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีมากแถบจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เขาถือเป็นผักประจำถิ่นเลย ถึงขนาดพูดกันว่า ถ้ามาระนองแล้วไม่ได้กินผักเหลียงแสดงว่ายังมาไม่ถึง ว่ากันว่าถ้าจะกินผักเหลียงที่มีรสหวานอร่อยแล้วละก็ ต้องเป็นผักเหลียงที่ขึ้นในร่ม หรือไม่ก็ต้องหลังฤดูฝนไปแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ผักเหลียงเริ่มแตกใบใหม่ แหล่งดั้งเดิมของผักเหลียงขึ้นอยู่ตามป่าเขา ที่ราบ บางครั้งก็เห็นขึ้นเคียงข้างกับต้นสะตอและต้นยางด้วยรสชาติที่ออกจืดๆ มันๆ ของผัก เหลียง คนใต้จึงนิยมนำมากินสดเป็นผักเหนาะ กับขนมจีน น้ำยาปักษ์ใต้ และนำไปประกอบอาหารต่างๆ ลักษณะของผักเหลียงที่อร่อย คนใต้เขาแนะนำให้เลือกใบที่เป็นเพหลาด คือไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใบจะออกรสหวานนิดๆ และนอกจากความอร่อยแล้ว ผักเหลียงยังมีสารเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคตาฟางในตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส อีกด้วยอาหารยอดนิยมจากผักเหลียงที่ขึ้นชื่อของ
เมืองใต้คือ "ผักเหลียงต้มกะปิ" หรือที่รู้จักกันดีว่า "แกงเคย" กรรมวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงต้มน้ำให้เดือด ใส่กะปิ หอมแดงบุบ น้ำตาลทราย พอเครื่องเดือดทั่วกันก็ใส่ผักเหลียงได้เลย ส่วนใหญ่ใส่กันทั้งใบ ไม่เด็ดก้านใบทิ้ง เพราะก้านทำให้น้ำแกงมีรสหวาน พอใส่ผักเหลียงแล้วยกลงได้เลย เคี่ยวนานไปผักจะสลดหมด แกงหม้อนี้ใช้เกลือปรุงรสแทนน้ำปลา แต่อาจเสริมรสชาติความอร่อย ด้วยการใส่กุ้งแห้งหรือกุ้งใหญ่ลงไปด้วย (กุ้งใหญ่ที่ว่านี้ก็คือกุ้งก้ามกรามนั่นเอง) รสชาติเหมือนแกงเลียง ต่างกันตรงที่เครื่องแกงของแกงเลียงจะนำมาโขลกก่อน แล้วจึงใส่ลงในหม้อแกง แต่แกงผักเหลียงนี้ไม่ต้องนำเครื่องแกงไปโขลกนอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำอาหารจานผัดที่แสนธรรมดา แต่รสชาติไม่ธรรมดาอย่าง "ผักเหลียงผัดไข่" วิธีทำจะว่าไปแล้วก็เหมือนพวกหัวไชโป๊ผัดไข่ มะละกอสับผัดไข่ เพียงแต่เราเปลี่ยนเป็นใบเหลียงเท่านั้น รับประทานกันข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อยไปอีกแบบ แม้แต่ห่อหมกของคนใต้ยังนิยมใช้ใบเหลียงมารองก้นกระทง นอกเหนือไปจากใบโหระพา ผักกาดขาว และใบยออีกด้วย หรือจะนำมาต้มกับกะทิเป็น "ผักเหลียงต้มกะทิ" ก็ได้
......................................................................................................................................
7. ยอดมะยมมีแคลเซียม 147 มิลลิกรัม
มะยม เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่เบี้ยว หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
...............................................................................................................................
8.ผักแส้วมีแคลเซียม 142 มิลลิกรัม
ชื่ออื่น ผักแส้วหรือ ผักแซ่ว(Marsdenia glabra Cost .) (เหนือ) เถาวัลย์ดำ (สระบุรี)ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ลำต้น เป็นไม้เลื้อย ลำต้นเป็นเถากลมขนาดเล็กสีเขียว บางช่วงเลื้อยงอไปงอมา เถามีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.01-0.15 ซม.
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามกัน ใบมีสีเขียวเป็นรูปหอกปนรูปไข่กว้าง2-4ซม.
ใบยาว 4-12 ซม. ก้านใบสั้น 0.05-2 ซม. หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ
ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม
ดอก ดอกมีกลีบดอกสีขาว กลีบดอกเล็กเรียวแหลมยาว 3-5 เมตรดอกมีกลิ่นหอม
ผล ผลมีขนาดเล็ก กว้าง 6 มม. ยาว 5 ซม.
เมล็ด มีขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์ เหง้า
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ทุกฤดู
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ที่รกร้างใกล้หมู่บ้านหรือนำมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้านเพื่อเก็บยอดไว้รับประทาน และเป็นไม้ประดับ
การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนสด มีรสขมอมหวาน นำมายำกับปลาทูนึ่ง ใบอ่อนสดเป็นผักจิ้มร่วมกับ
น้ำพริกไข่มดแดงหรือนำมาแกงกับปลาแห้งหรือนำมาแกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ หรือนำมาลวกนึ่ง
เป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกเเดงหรือน้ำพริกปลาร้า
ทางยา ใบ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย ดอก บำรุงหัวใจบไำรุงครรภ์รักษาแก้ไข้
ตัวร้อน ราก ถอนพิษยาเบื่อเมา ถอนพิษไข้ถอนพิษอักเสบต่างๆ
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี แตกยอดในฤดูฝน
............................................................................................................................
9.ดอกผักฮ้วนมีแคลเซี่ยม 113 มิลลิกรัม
ชื่อที่เรียก : ผักฮ้วน
ชื่ออื่นๆ : ผักฮ้วนหมู, กระทุงหมาบ้าหรือ คันชุนสุนัขบ้า (ไทยภาคกลาง), เครือเขาหมู, ผักฮ้วนหมู (ภาคเหนือ), มวนหมูกวาง (เพชรบุรี), เถาคัน (ปักษ์ใต้)
หมวดหมู่ทรัพยากร : ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะ : ผักฮ้วนเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่ขึ้นพันไม้อื่น เป็นพันธุ์ไม้ป่าแต่นำมาปลูกกันแพร่หลายในบางท้องที่ เช่น ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามเถามียางขาวๆ ใบกลม ปลายใบแหลมคล้ายใบบอระเพ็ดหรือชิงช้าชาลี แต่ใบหนาและแข็งกว่า ใบอ่อนและยอดใช้
เป็นผักจิ้มได้สดๆ หรือแกงกับผักชนิดอื่น ดอกสีเขียวออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ใช้แกงหรือจิ้มกับน้ำพริก หรือส้มตำมะม่วง
ประโยชน์ : ตามสรรพคุณยาโบราณกล่าวว่า เถามีรสเบื่อเอียน รากกระทุ้งพิษ ขับพิษร้อน พิษไข้ พิษไข้หัว พิษผีไข้กาฬ ให้ซ่านออกมาจากภายใน ดับความร้อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบให้ละเมอเพ้อพก หลับ ๆ ตื่น ๆ น้ำตาตกหนัก แสบร้อนหน้าตา ปวดศีรษะเชื่อมมัว นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอะซิน และวิตามินต่าง ๆ
..................................................................................................................................
10.ผักแมะมี 112 มิลลิกรัม
ผักแมะ : Momordica subangulata Blume Cucurbitaceaeไม้เถาล้มลุก ยาว 1-3 ม. มีหัวใต้ดิน ลำต้นเกลี้ยง ดอกแยกเพศต่างต้น มือจับไม่แตกแขนง ใบเดี่ยว เรียงสลับ แฉกป็นพู 3-5 แฉกตื้นๆ หรือเรียบ ใบรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 20 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายตักเป็นติ่ง แผ่นใบไม่มีต่อม ก้านใบยาว 2-6 ซม ช่อดอกมีดอกเดียว ช่อดอกเพศผู้ มีใบประดับกลมๆ ขนาด 1-1.5 x 1-2 ซม. มีขนด้านนอก ก้านดอกยาว 3-5 มม. ฐานดอกรูปถ้วยปากกว้าง ขนาด 2 x 4 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 0.4-1 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 2-3 ซม. ที่โคนกลีบ 2 กลีบ มีแผ่นเกล็ดกลมๆ กลีบที่ไม่มีแผ่นเกล็ดมีปื้นสีดำที่โคนกลีบด้านใน ก้านเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 3 มม. มีขนที่โคน อับเรณูชิดกันเป็นทรงกลม ปลายย่น โคนเป็นพูพับไปมา ช่อดอกเพศเมีย ก้านดอกยาว 3-10 ซม. ใบประดับขนาดเล็กติดใต้จุดกึ่งกลางก้านช่อดอก ก้านดอกยาว 1.5-9 ซม. กลีบเลี้ยงรูปแถบ ยาว 4-5 มม. กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว 2-2.5 ซม. รังไข่รูปกระสวย ยาว 0.8-1.2 ซม. เป็นสันปุ่มเล็กๆ ตามยาว 8-10 สัน มีขนหยาบยาว ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 พู ปลายแยก 2 แฉก ผลทรงรี ยาว 3-5 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนละเอียด มีสันตามยาว 8-10 สัน ก้านผลยาว 4-15 ซม. เมล็ดจำนวนมาก แบน ยาว 6-7 ซม.ผักแมะมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นที่โล่ง ชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา จนถึงระดับวามสูงประมาณ 1100 เมตร
หมายเหตุ ในไทยพบอีกชนิดย่อยคือ var. renigera (G. Don) W.J. de Wilde & Duyfjes ที่มีลักษณะต้นดูหนากว่า ใบประดับในช่อดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่า และผลมีขนหยาบยาวหนาแน่น
โดยแคลเซียม มีบทบาทหลักคือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยในการแข็งตัวของเลือด และควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด
..................................................................................................................................
ผักที่มีใยอาหารสูง 10 อันดับ ได้แก่
1.ยอดมันปู มี16.7 กรัม
2.ยอดหมุย มี 14.2 กรัม
 3. ยอดสะเดา มี 12.2 กรัม
4.เนียงรอก มี 11.2 กรัม
5..ดอกขี้เหล็ก 9.8 กรัม
6.ผักแพว 9.7กรัม
 7.ยอดมะยม 9.4 กรัม
8.ใบเหลียง 8.8 กรัม
9.หมากหมก 7.7 กรัม และ
10.ผักเม่า มี 7.1 กรัม
ซึ่งใยอาหารในผัก ทำให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิด ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผักที่มีเบต้าแคโรทีน สูง 10 อันดับ  ได้แก่
1.ยอดลำปะสีมี 15,157 ไมโครกรัม
2.ผักแมะมี 9,102 ไมโครกรัม
3.ยอดกะทกรกมี 8,498 ไมโครกรัม
4.ใบกระเพราแดงมี7,875 ไมโครกรัม
5.ยี่หร่ามี 7,408 ไมโครกรัม
6.หมาน้อยมี 6,577 ไมโครกรัม
7.ผักเจียงดามี 5,905 ไมโครกรัม
8.ยอดมันปูมี 5,646 ไมโครกรัม
9.ยอดหมุยมี 5,390 ไมโครกรัม และ
10.ผักหวานมี 4,823 ไมโครกรัม
ส่วนผักที่มีวิตามินซีสูง 10 อันดับ ได้แก่
 1. ดอกขี้เหล็กมี 484มิลลิกรัม
2.ดอกผักฮ้วนมี 472 มิลลิกรัม
3.ยอดผักฮ้วนมี 351 มิลลิกรัม
4.ฝักมะรุมมี 262 มิลลิกรัม
5.ยอดสะเดามี 194 มิลลิกรัม
6.ผักเจียงดามี 153 มิลลิกรัม
7.ดอกสะเดามี 123 มิลลิกรัม
8.ผักแพวมี 115 มิลลิกรัม
 9.ผักหวานมี 107 มิลลิกรัม และ
 10.ยอดกะทกรกมี 86 มิลลิกรัม
โดยทั้งเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี เป็นสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ทำให้ร่างกายแก่ชราช้าลงด้วย


ผักที่มีธาตุเหล็กสูงสุด  5 อันดับแรก ได้แก่
 1.ใบกระเพราแดงมี 15 มิลลิกรัม
 2. ผักเม็กมี 12 มิลลิกรัม
3.ใบขี้เหล็กมี  6 มิลลิกรัม
4.ใบสะเดามี 5 มิลลิกรัม และ
5.ผักแพวมี 3 มิลลิกรัม
ส่วนธาตุเหล็ก เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำอ็อกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่างกาย และมีบทบาทในด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ สมรรถภาพในการทำงาน สร้างภูมิต้านทานโรค และเกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีควบคู่ด้วย




..................................................................................................................................

ผักกูดนั้นเป็นผักที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์
“Athyriaceae” มีเหง้าสูงได้ประมาณ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย เติบโตในฤดูฝนในที่โล่งแจ้งมีน้ำชื้นแฉะ จะพบมากในป่าทึบ ผักกูดมี 3 ชนิด แตกต่างกันเพียงสีของต้นและลักษณะใบเล็กน้อย รับประทานเป็นอาหารได้ทั้ง 3 ชนิด ชาวบ้านรุ่นเก่าๆ รู้จักผักกูดมาตั้งแต่โบราณแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่น้อยนักจะรู้จักและรับประทาน มียอดอ่อนขายตามตลาดสดทั่วไป เรียกว่าเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์นานา จะเห็นได้ว่าผักกูดเป็นผักบอกสภาวะแวดล้อมให้คนรู้ว่าบริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด
  ผักกูดจึงถือได้ว่าเป็นอาหารพิเศษอย่างหนึ่งจากธรรมชาติมีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กปริมาณสูง ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไร
 ฟันและขับปัสสาวะเล็ด ช่วยลดความดันโลหิตสูง และคลอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสดๆ กัน เพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้านทำให้ระคายคอยามรับประทาน



..........................................................................................................................................
ผักอีฮีน,ผักลิ้น,ขาเขียด
ชื่อสามัญ : Monochoria, Pickerel weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monochoria vaginalis (Burm.f) Presl var. Solms
ชื่อวงศ์ : PONTEDERIACEAE
ส่วนขยายพันธุ์ : เมล็ด
ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบกอายุฤดูเดียว ชอบขึ้นในที่น้ำท่วมขังตื้น ๆ เช่นในนาข้าว มีรากหยั่งดิน ใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้มเป็นมันใบแตกแบบสลับเป็นสองแถบ ก้านใบยาวโคนก้านแผ่ ออกเป็นกาบ ช่อดอกออกที่บริเวณโคนก้านใบ โดยแทงช่อออกมาตรงข้ามกับกาบที่หุ้มช่อดอก ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยสีม่วง 6-15 ดอก กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนกลีบติดกันมีเมล็ดมาก..
....................................................................................................................................
ผักกระโดน
วงศ์ "BARRINGTONIACEAE"
1)"กระโดนน้ำ"
ชื่อวิทยาศาสตร์"BarringtoniaAcutangula(Linn.)Gaertn."
ชื่อพื้นเมือง"จิด(ภาคกลาง),ผักกระโดนน้ำ(อุดรธานี, สกลนคร,หนองคาย,ร้อยเอ็ด),กระโดนทุ่ง,กระโดนน้ำ (หนองคาย),จิกนา(ภาคใต้),ใบตอง(เหนือ),เรีย็ง(เขมร)
2)"กระโดนบก"
ชื่อวิทยาศาสตร์"CareyaSphaericaRoxb.""C.ArboreaRoxb."
ชื่อพื้นเมือง"กระโดน”
กระโดน, ผักกระโดน, กระโดนบก, กระโดนโคก (อุดรธานี,อีสาน), กะนอล(ขเมร), ขุย(กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ผักปุย(เหนือ), โดน, กระโดน, ปุยกระโดน(ใต้), ปุยขาว, ผักฮาด(เหนือ), หูกวาง (จันทบุรี), พุย(ละว้า-เชียงใหม่)
      กระโดน เป็นพืชที่นิยมรับประทานเป็นผัก จิ้มกับน้ำพริก กินกับขนมจีน และส้มตำ จากคำบอกกล่าวของชาวบ้านกระโดนน้ำมีต้นเตี้ยกว่ากระโดนบกและกระโดนน้ำชอบขึ้นตามที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง ในฤดูน้ำหลา ชาวอีสานเรียกว่าที่ลุ่มดินทามส่วนกระโดนบกภาคกลางเรียกต้นจิกมักขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณป่าทุ่งในชีวิตประจำวันชาวบ้านได้อาศัยประโยชน์จากไม้ของกระโดนน้ำและกระโดนบกเนื้อไม้ของกระโดนบกมีประโยชน์หลายอย่างเช่นใช้ในการสร้างบ้านเรือนและทำเครื่องเรือนทำเรือและพายทำครกสากทำเกวียนและเพลาได้เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำเป็นหมอนรองรถไฟได้ดีส่วนกระโดนน้ำมักใช้ทำเครื่องใช้และเครื่องเรือนไม้นวดข้าวสากกระเดื่อง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 กระโดนบกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูงประมาณ10-30 เมตร ลำต้นมักเตี้ยและมีกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบเปลือกต้นหนาสีเทาและแตกล่อนเป็นแผ่นๆ ในหน้าฝนกระโดนจะทิ้งใบและผลิใบใหม่พร้อมออกดอกเต็มต้น ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่กลีบ ออกเรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง ขนาดใบกว้างประมาณ 12-15 ซม. ยาวประมาณ 25-30 ซม.ขอบใบหยิก ก้านใบยาวประมาณ 2-3 ซม. ดอกออกเป็นเดี่ยวหรือเป็นช่อๆ ละประมาณ 2-3 ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกอย่าง ละ 4 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวนวลร่วงง่ายกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆังเกสรตัวผู้ยาวและเป็นเส้นฝอยสีแดงจำนวนมาก ผลกลมโต กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 6.5 ซม.ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก
กระโดนน้ำเป็นไม้ที่พบตามป่าเบญจพรรณป่าหญ้าในที่ลุ่มพบมากตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองหนองบึง หรือที่ลุ่มน้ำท่วมถึง กระโดนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8-17 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็วทรงพุ่มแผ่กว้างเปลือกสีน้ำตาลเข้มน้ำตาลแดงหนาและหยาบปลายกิ่งมักจะลู่ลงใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเป็นกลุ่มอยู่ตอนใกล้ปลายกิ่งใบ รูปหอกกลีบหรือรูปไข่กลีบ กว้างประมาณ 2.5 - 8.5 ซม. ยาวประมาณ 5 – 16 ซม. ปลายใบมนทุ่มเว้าเล็กน้อยหรือเป็นกิ่งสีแดงสดหรือแดงเรื่อๆ ช่อดอกยาวประมาณ 40 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีชมพูเกสรตัวผู้มีจำนวนมากส่วนก้านเกสรยาวสีแดงสดเห็นเด่นชัดเรียงเป็นชั้นๆ 3 ชั้น โดยมีโคนเชื่อมติดกันและเชื่อมติดกับกลีบดอกเกสรตัวผู้ร่วงง่ายผลเป็นรูป สี่เหลี่ยมมีสันเหลี่ยมเมล็ดเป็นรูปไข่ผิวเป็นร่อง 1 ผลมี 1 เมล็ด
การปลูก
กระโดนเป็นไม้เบญจพรรณ ที่ทนความแห้งแล้งได้ดี การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการนำเมล็ดในช่วงฤดูฝนหรือการตอนกิ่ง และการปักชำ
ประโยชน์ทางยา
กระโดนบกใบมีสารแทนนิน 19 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีรสฝาดใช้ปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล, ใบใช้เป็นยาเบื่อปลาได้, เปลือกและผลใช้เป็นยาฝาดสมานแผล, ดอกและน้ำจากเปลือกใช้ผสมกับน้ำผึ้งใช้ทานเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอและเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร, ผลเป็นยาช่วยย่อยอาหาร, เมล็ดเป็นยาแก้พิษ, รากและใบใช้เป็นยาเบื่อปลา
กระโดนน้ำเปลือกมีรสผาดใช้ชะล้างบาดแผล, สมานแผลเรื้อรังและใช้เบื่อปลาได้, ใบแก้ท้องร่วง, รากใช้เป็นยาระบาย, ผลเป็นยาแก้หวัด, เมล็ดเป็นยารสร้อนแก้ลมแน่นจุก, ใช้ในการคลอดบุตร ทำให้อาเจียน ระงับความเย็นแก้อาการไอของเด็ก
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและกินเป็นผักกับขนมจีนน้ำยา สำหรับความนิยมของกระโดนน้ำและกระโดนบกเป็นที่ยมของคนโดยทั่วไป ชาวอีสานนิยมกระโดนน้ำมากกว่ากระโดนบกและมีรสชาติอร่อยกว่า มีรสฝาดน้อยกว่ากระโดนบก ส่วนกระโดนบกชาวบ้านก็จะเลือกต้นที่มียอดสีเขียวอ่อนมากกว่าต้นที่มียอดอ่อนสีแดงความนิยมในการรับแระทานผักกระโดนของชาวอีสานลดน้อยลงบ้างเพราะเชื่อว่าผักกระโดนทำให้เป็นนิ่วได้ แต่ทว่าวงจรของอาหารธรรมชาติจะช่วยสร้างความสมดุลเราสังเกตได้ว่ากระโดนบกและกระโดนน้ำจะผลิยอดอ่อนคนละฤดูกาล คือ กระโดนน้ำจะออกยอดอ่อนกลางฤดูฝน(เดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม) และจะออกยอดให้เก็บได้บ่อยๆ ส่วนกระโดนบกจะออกยอดอ่อนปลายฤดูแล้ง(เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน)ช่วงรอยต่อต้นฤดูฝนหรือในช่วงเริ่มต้นฤดูการลงนา(หน้านา) ในช่วงนี้อาหารโปรตีนในธรรมชาติจะมีปริมาณมากให้เลือกรับประทาน เช่น กบ ปลา แงกี่นูน แมงกุดจี่ ไข่มดแดง เป็นต้น

จากการวิจัยพบว่าถ้าร่างกายได้ปริมาณสารออกซาเลทหรือกรดออกซาลิคในปริมาณสูงและได้รับสารโปรตีนในปริมาณต่ำอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะโอกาสที่จะขาดสารโปรตีนจะน้อยลงนอกจากนี้ในผักกระโดนสด 100 กรัม ประกอบด้วยปริมาณออกซาเลท 59 มิลลิกรัม(น้อยกว่าผักโขม16 เท่าและน้อยกว่าผักชะพลู12เท่า) อาจกล่าวได้ว่าเป็นปริมาณต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆ การปรุง อาหารชาวอีสาน ชาวใต้และชาวเหนือรับประทานผักกระโดนโดยรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกชาวอีสานดูจะนิยมผักกระโดนมากกว่ากระโดนบกเพราะนอกจากรับประทานกับส้มตำร่วมกับลาบก้อย ยอดกระโดนบกมักจะนำมารับประทานกับยำมดแดงชาวบ้านมักเก็บตามป่าธรรมชาติหรือหาซื้อได้ตามตลาดสดในท้องถิ่น
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดอ่อนและดอกอ่อนรสฝาดอมมัน ผักระโดน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 83 กิโลแคลอรี มีเส้นใย 1.9 กรัม, แคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม, เหล็ก 1.7 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 3958IU, วิตามินบี1: 0.10มิลลิกรัม, วิตามินบี2 : 0.88 มิลลิกรัม, ไนอาซิน 1.8 มิลลิกรัม, วิตามินซี 126 มิลลิกรัม

5 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดเลยครับ....เรื่องของสุขภาพที่ดีของทุกคน

    ตอบลบ
  2. เยี่ยมเลยครับไม่รู้มาก่อนเลยครับ

    ตอบลบ
  3. อยากปลูกไว้ทานบ้างจะหาได้ที่ไหน

    ตอบลบ
  4. รวมผักพื้นบ้าน นานา ชนิดดีมากเลยครับ ได้รู้จักผักพื้นบ้านชื่อใหม่ๆ หรือถ้าอยากทราบเกี่ยวกับ อาหาร และเที่ยว ก็แวะไปเยี่ยมได้ครับ ที่ AerkFoodTrip

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ

    ตอบลบ