วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆบล็อกนานาสาระเกษตร วันนนี้จะนำสาระเรื่องการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์มาฝากกันนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ
เงินลงทุน
ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ
รายได้
ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท
วัสดุ/อุปกรณ์
แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต
แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ
ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป
บ่อกบ
วิธีดำเนินการ
1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด
4. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็วและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียง

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดง

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดง
วัสดุหรือภาชนะที่เลี้ยงควรใช้วงบ่อปูนขนาด 80 ม. – 1.20 ม. พื้นเทคอนกรีต  และเจาะรูระบายน้ำ นำฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาแช่น้ำนาน 3-5 วันนำมารองพื้นวัสดุที่  ใช้้เพาะ เลี้ยงหนาประมาณ 1-2นิ้ว จากนั้นนำดินร่วน ผสมมูลสัตว์ อย่างละเท่าๆ กันใส่  ลงไปในภาชนะให้หน้าขึ้นมา 3-4 นิ้ว พรมน้ำ ให้ทั่วนำไส้เดือน ลงไปเลี้ยงหาวัสดุคลุม  หน้า  ดิน เพื่อป้องกันแสงแดด การให้อาหาร ควรให้อาหารเสริมทุก 3-4 วันเช่น เศษ  พืชผักขยะ  สด และมูลสัตว์ ซึ่งไส้เดือนชอบมาก

การเตรียม
ส่วนผสม
บ่อวงซีเมนต์ (ดิน ปุ๋ยคอก เศษผักผลไม้)
วิธีทำ
ใส้เดือน
เตรียมบ่อ ผสมส่วนผสมที่มีอยู่ให้เข้ากัน ใส่ลงในบ่อ นำตัวไส้เดือนลงปล่อย
วิธีใช้
ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงสามารถนำไปตกปลา
*หมายเหตุ*ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงเวลาเกี่ยวเบ็ดตัวไส้เดือนจะขาดไวกว่าไส้เดือนที่มีอยู่ในธรรมชาติ
 ข้อควรระวัง

1. ค่าความเป็นกรด ด่างของดินควรอยู่ในช่วงเป็นกลาง (PH=7)

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลากราย

 ปลากราย (Chitala ornata, Haminton) เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ประชาชนชอบบริโภคเนื่องจากเนื้อปลากรายมีรสชาติดีสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดมันปลากราย ลูกชิ้นปลากราย  เชิงปลากรายทอดกระเทียม เป็นต้นทำให้ราคาจำหน่ายปลากรายในท้องตลาดค่อนข้างมีราคาแพงประมาณกิโลกรัมละ 70-80 บาท ส่วนเนื้อปลาขูดราคากิโลกรัมละ 150 บาท อีกทั้งปลากรายขนาดเล็กมีลักษณะสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาดปลาสวยงามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปลากรายที่นำมาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีปริมาณลดลงทุกปี กรมประมงจึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรีดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเร่งเพาะขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูพันธุ์ปลาและส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป
ปลากรายเป็นปลาน้ำจืดที่พบมากในประเทศไทย อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซียและพม่า ในประเทศไทยพบอาศัยในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึงทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกปลาตองกราย เป็นต้น ปลากรายเป็นปลาประเภทกินเนื้อ อาหารของปลากรายตามธรรมชาติได้แก่ ตัวอ่อนของแมลง กุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่น ๆปลากรายมีลักษณะลำตัวยาวบาง แบนข้าง ส่วนหัวมีขนาดเล็ก เว้าเป็นสันโค้งและแยกออกจากลำตัวเห็นชัดเจน เหนือครีบก้นจะมีจุดสีดำค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 5 – 10 จุดเรียงเป็นแถว สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน  ส่วนหลังมีสีคล้ำกว่าส่วนท้อง ขนาดของปลากราย ที่พบส่วนใหญ่ยาวประมาณ 70–75 เซนติเมตร  ส่วนลูกปลาที่มีขนาดไม่ เกิน 9 เซนติเมตร จะมีลายสีเทาดำ ประมาณ