วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามคุณภาพ


สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บล็อกนานาสาระเกษตร วันนี้จะนำเรื่องของกุ้งก้ามกรามคุณภาพ มาฝากกันค่ะ เพราะขณะนี้ตลาดกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงมาก และสามารถเลี้ยงได้อีกด้วยค่ะ

กุ้งคุณภาพเพื่อการบริโภคและการส่งออก จะต้องสด สะอาด รสชาติดี ไม่มีสารตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และระบบการผลิตจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปัญหาที่ผ่านมา การเลี้ยงแบบดั้งเดิมส่วนมากไม่ได้ทั้งคุณภาพและผลผลิต สาเหตุ : ใช้กุ้งสายพันธุ์ดั้งเดิม ตัวเล็ก โตช้า ไม่มีบ่อพักน้ำ ไม่มีการให้อากาศ (เครื่องตีน้ำ) ทำอาหารใช้เอง คุณภาพไม่แน่นอน น้ำเลี้ยงและพื้นบ่อเน่าเสียได้ง่าย ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่น มีการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหายาตกค้างไม่สามารถส่งออกได้
แนวทางการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามคุณภาพ ใช้ลูกกุ้งสายพันธุ์ใหม่ ที่ปรับปรุงคุณภาพแล้ว กุ้งตัวโตกว่าและโตเร็วกว่าเดิม มีบ่อพักน้ำ ใช้เครื่องให้อากาศบ่อละ 1 เครื่อง ใช้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพแน่นอนสม่ำเสมอกว่า อนุบาลลูกกุ้งก่อนแล้วย้ายบ่อ แยกเพศ จะทำให้ได้กุ้งตัวโตกว่า ราคาสูงและให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเลี้ยงแบบดั้งเดิม

การเตรียมบ่อและเตรียมน้ำ- ตากบ่อให้แห้ง บ่อลึกประมาณ 1.20 เมตร
- ปรับสภาพโดยเอาเลนก้นบ่อออก
- สูบน้ำจากบ่อพักน้ำเข้าบ่ออย่างน้อย 1.0 เมตร
- หว่านปูนโดโลไมท์ 2.5 กก./ไร่ กลางวัน
- ตีน้ำทิ้งไว้ 1 คืน
- สร้างสีน้ำและสัตว์หน้าดิน

การสร้างสัตว์หน้าดินและอาหารธรรมชาติ- ปุ๋ยสูตร 15-20-0 ไร่ละ 2 กก.
- ผสมอาหารเบอร์ 1 ไร่ละ 2 กก.
- รำละเอียด ไร่ละ 2 กก.
- ผสมน้ำ 10 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 คืน
- สาดให้ทั่วบ่อ ตีน้ำทิ้งไว้จนเกิดสัตว์หน้าดิน
 การปล่อยลูกกุ้ง
- ปล่อยลูกกุ้งในขณะที่มีแสงแดด
- ตีน้ำเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิ
- เติมเกลือ เพื่อเพิ่มอัตรารอดของลูกกุ้ง
การใช้เกลือในการปล่อยลูกกุ้ง - ใส่เกลือในกระสอบๆ ละ 40 กก.
- ลูกกุ้ง 200,000 - 300,000 ตัว ใช้เกลือ 10 กระสอบ วางห่างกัน 2 เมตร
- หว่านปูนโดโลไมท์ ทุก 10 วัน
การให้อาหาร
- เติมจุลินทรีย์ทุก 10 วัน - เดือนแรกให้วันละ 4 มื้อ เวลา 6.00 น., 12.00 น., 16.00 น., 20.00 น. (ลูกกุ้ง 100,000 ตัว ให้อาหาร 1 กก./วัน)
- เดือนที่สองเป็นต้นไป ให้วันละ 3 มื้อ เวลา 6.00 น., 12.00 น., 16.00 น.
คุณภาพน้ำที่สำคัญ- พีเอชเช้า ไม่ต่ำกว่า 7.5 พีเอชต่ำอัตรารอดต่ำ- พีเอชบ่าย ไม่สูงกว่า 8.5 พีเอชสูง กุ้งโตช้า เปลือกสากไม่ลอกคราบมีซูโอแทมเนียมเกาะตามเ
ปลือก
ปัญหาระหว่างการเลี้ยง- เหงือกดำ เหงือกบวม เกิดจากพื้นบ่อไม่สะอาด แก้ไขโดย ถ่ายน้ำแล้ว เติมจุลินทรีย์ เปิดเครื่องตีน้ำ
- เป็นโรคตัวสีส้ม ส่วนหัวจะมีสีส้ม ตัวซีดกว่ากุ้งปกติ น่าจะมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือ ไวรัส การป้องกันโดยพักน้ำนานอย่างน้อย 10 วัน ก่อนปล่อยลูกกุหรือก่อนการย้ายกุ้งลงไปเลี้ยงในบ่อ
 สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ- คุณประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด ฝ่ายกุ้งก้ามกราม 0-1858-3532 , 0-1702-4769
- คุณวณิชย์ โสวนะปรีชา ฟาร์มเกษตรสมบูรณ์ 0-1723-3975

 ขอขอบคุณ : http://www.rdi.ku.ac.th/
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต

1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าจะเลี้ยงในบ่อพลาสติกหรืออ่างปูนเล็กๆ ไว้กินเอง มันจะโตให้ป่าวครับ

    ตอบลบ