วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงตุ๊กแก

“ตุ๊กแกบ้าน”  (Gekko   gecko)  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน  ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง  กระทั่งบางคนบอกว่า  พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ   จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ  ตั๊กแตน  จิ้งหรีด  ด้วง  มอด มด  ผีเสื้อ  หนอน  แมงป่อง  ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…   ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก   ค่อน ข้างแบน   หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน   ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง  ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม   เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว  โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย  โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต  อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย  หากมันมีชีวิตรอดเพียง  3  สัปดาห์  ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
(บริเวณเดียวกันได้หลายแม่)  ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วง นี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
แม้ ว่าการใช้ชีวิตโดย รวมของพวกมันจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช   แต่ ด้วยลวดลายสีสันบนตัว บวกกับน้ำเสียงที่เวลาร้องประหนึ่งว่ากำลังเล่นลูกคอ หลายคนจึงไม่ค่อยพิสมัยในตัวมันนัก!
การเลี้ยงตุ๊กแก
 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก

พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4        ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20      เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                                จำนวน           20       ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                   จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด                 จำนวน         2         ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร                     จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                      จำนวน           5         คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น  ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
 ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
1. ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
2. การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
3.ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

การตลาด
ส่วนมากตลาดที่ต้องการรับซื้อจะอยู่ที่ประเทศจีน    ไต้หวัน  มาเลเซีย   ทางศูนย์ของเราเคยมีพ่อค้าจากมาเลเซียโดยตรงมาขอซื้อถึงศูนย์เรียนรู้แล้วหลายครั้ง

แหล่งข้อมูล : บ้านไร่ศรีสุทัศน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

3 ความคิดเห็น:

  1. แปลกและน่าสนใจมากครับ

    ตอบลบ
  2. ราคาดีมั้ยครับ เท่าที่ได้ยินมาราคาแพงมากต่อตัวนึง

    ตอบลบ
  3. สวัสดีค่ะ
    ยินดีที่ได้รู้จักคุณนะค่ะ ดิฉันชือRubyค่ะ ขอโทษค่ะ วิชาภาษาใทยค่ะ
    Hello,
    We are a sports betting website from Europe. We want to post an article on your website. The article can be written consistently with the topic of your website.
    And we will pay for it.
    If you agree, please quote me the price to post one article on your website. I appreciate it if you can speak in English. I'm not good at Thai language.
    My email is xxzw7799@gmail.com.
    Looking forward to your reply. 
    Best Regards & Thanks.
    Ruby

    ตอบลบ