โอ้ พระเจ้าจ๊อด เจ้ายอดมาก ยกนิ้วงามๆ ให้กับอาหารทรงคุณค่า สำหรับพืชชนิดนี้ค่ะ นั่นคือ สาหร่ายน้ำจืดนั่นเอง วันนี้มีสาระดีๆ มาฝากสำหรับผู้ยังไม่ทราบเกี่ยวกับคุณค่าของสาหร่ายของไทยเราค่ะ..งั้นก็มาทำความรู้จักกับสาหร่ายน้ำจืดชนิดนี้กันนะค่ะ
สาหร่ายไก เป็นสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวสกุล Cladophora ที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะแถบ แม่น้ำน่าน
ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สามารถนำมารับประทานได้
สาหร่ายชนิดนี้ มีหลายชื่อได้แก่ ไกเหนียวหรือไกค้าง, ไกเปื้อยหรือไกไหม,ไกต๊ะ,สาหร่ายไก,สาหร่ายไคร,ไกค่าว เตา (ภาคเหนือ) นิยมนำมายำใส่ปลาทู มะเขือเปาะ
สาหร่ายไกมี 3 ชนิด คือ
1.ไกเหนียว (ไกค้าง) - มีสีเขียวเข้ม ลักษณะยาว ไม่แตกแขนง เนื้อไม่ฟู มีน้ำหนักพอสมควร มีความยาวประมาณ 2 เมตร
2.ไกเปื้อย (ไกไหม) - ลักษณะจะเกาะอยู่กับหินเป็นกระจุกแล้วจึงกระจายแผ่ออกเป็นฝอยจำนวนมาก ลักษณะเส้นจะเหนียวและลื่น มีสีเขียวซีด มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร