“ตุ๊กแกบ้าน” (Gekko gecko) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง กระทั่งบางคนบอกว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ ตั๊กแตน จิ้งหรีด ด้วง มอด มด ผีเสื้อ หนอน แมงป่อง ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง… ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก ค่อน ข้างแบน หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย หากมันมีชีวิตรอดเพียง 3 สัปดาห์ ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555
การเลี้ยงแมงดานา สร้างรายได้
สวัสดีค่ะ วันนี้จะนำเรื่องการเลี้ยงแมงดานามาฝากผู้เยี่ยมชมบล็อกนานาสาระเกษตรสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำทีเดียวนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ
เมื่อพูดถึงแมงดานา ทุกคนก็คงจะนึกถึงน้ำพริกแมงดาและก็คงจะเคยกินน้ำพริกแมงดากันมาบ้างแล้ว ปัจจุบันน้ำพริกแมงดาได้กลายเป็นสินค้าด้านอาหารที่ทำเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยมีโรงงานผลิตน้ำพริกแมงดาบรรจุขวดออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และทำให้มีผู้บริโภคกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ และพกพาติดตัวไปรับประทานในการเดินทางได้สะดวกอีกด้วย แมงดาเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะหายาก การที่จะจับแมงดาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะว่าแมงดาจะออกมาให้จับเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ส่วนฤดูแล้งก็จะหลบหนีไปจำศีลตามโพรงไม้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเลี้ยงแมงดาเพื่อการจำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว หรืออาจจะทำฟาร์มเลี้ยงเป็นอาชีพก็ได้ เพราะการเลี้ยงก็ง่าย ขายก็ได้ราคา
ขั้นตอนการเลี้ยงแมงดา
การเตรียมสถานที่
การทำบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา |
ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
2. สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3x4เมตร หรือ 4x5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
3.พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)