เคลัดลับเกษตร

ทำเกษตรในพื้นที่ ดินปนทราย 
                พืชที่สามารถขึ้นและเติบโตได้ดีในดินทราย หรือดินร่วนปนทราย มีหลายชนิด จริงๆ แล้วแทบจะเรียกว่า ปลูกได้ทุกอย่างไม่แพ้ดินร่วนปกติ ขอแค่ดินไม่เค็ม ไม่เปรี้ยว จนเกินไป หรือมีสารเคมีอื่นๆ มากมายจนเกินไปครับ แต่การปลูกในระยะเริ่มแรก ต้องปรับปรุงบำรุงสภาพดินก่อน โดยสังเกตุหญ้า ว่าขึ้นและเติบโตดีหรือไม่ หญ้าต่างๆ หาอาหารในหน้าดินระดับไม่ลึกมาก แสดงว่าดินยังมีแร่ธาตุอาหารดีอยู่ อย่างนี้ให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง ถั่วเขียว หรือพืชคลุมดินอื่นๆ เช่น คาโลโปโกเนี่ยม เพอร์ราเรีย ก่อนเพื่อทดสอบสภาพดิน หากขึ้นและเติบโตดีก็แสดงว่า ปลูกอะไรก็ขึ้นแน่นอน

                การปรับดินที่มีทรายผสมอยู่มาก ให้ใช้แกลบดิบหว่าน แล้วไถกลบ โรยปุ๋ยคอก ปุ่ยหมักตามอีกที หรือจะเลี้ยงวัวไว้ซักระยะ ให้ขี้วัวผสมกับดินได้ซักระยะก่อน แบบนี้รับรองปลูกอะไรก็ขึ้นงาม แหล่งที่เป็นดินทรายสำคัญต้องมีแหล่งน้ำเข้าถึง หากไม่มีน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดินสภาพแบบไหนก็ปลูกพืชขึ้นยากแน่นอน เมื่อได้ดินดี ธาตุอาหารในดินอุดมสมบูรณ์ ปัญหาคือดินไม่เก็บน้ำ สามารถใช้พืชคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นร่วมด้วยเป็นการแก้ปัญหาดินคายน้ำได้ในระดับหนึ่ง


ตัวอย่างพืชและผลผลิตที่ได้จากการปลูกในพื้นที่ดินทราย หรือดินปนทราย
                              การปลูกต้นขี้เหล็กเพื่อรักษาคันดิน ในพื้นที่ดินทราย ขึ้นได้ดีมาก
 
                                         ผักหวานป่า ก็สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินปนทราย                               
  ถั่วหรั่งหรือ ถั่วปันหยี เป็นพืชพื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีความทนแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินทรายจัด และดินร่วนปนทราย ที่ไม่มีน้ำขัง ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมี ถั่วหรั่งพันธุ์ดี คือ พันธุ์สงขลา 1 มีอายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ประมาณ 120-130 วัน ให้ผลผลิตสูงประมาณ 400-700 กิโลกรัมต่อ ไร่ ขึ้นอยู่กับสภาพดินและระบบการจัดการแปลง
                                
 ทางใต้เรียกพืชชนิดนี้ว่า มันขี้หนู ปลูกในเขตพื้นที่ที่เป็นดินทราย เพราะว่ามีหัวใต้ดินเล็กๆ ที่เกิดจากรากที่สามารถรับประทานได้ ทำได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา
สับปะรดเป็นพืชทนแล้ง มากครับ ดินที่ปลูกใหม่เป็นดินทรายแล้งๆ ไม่ต้องรดน้ำในช่วงแรกก็ยังทนอยู่ได้

                ดินปราบเซียน คือ ดินทรายเหนียว หน้าดินไม่อุ้มน้ำ แห้งเร็ว แห้งแล้วเนื้อดินแข็งมากๆ ปลูกพริก-มะเขือได้ แต่จะโตช้ากว่าปกติ ปลูกมะละกอโตได้แต่ยอดมะละกอที่เงยขึ้นจะมีขนาดเล็กกว่ามาตรฐานเมื่อเมื่อเทียบกับขนาดของลำต้น ลักษณะอาการนี้บ่งบอกถึงสภาพโครงสร้างดินไม่เหมาะสมสำหรับพืชกลุ่มนี้ แม้จะได้ให้ ปุ๋ยคอก ยิบซั่ม น้ำหมัก ฯลฯ แล้วก็ตาม แนวทางแก้ไข คือ เน้นให้สารอาหารทางใบเป็นหลักสามารถแก้ไขได้ พืชอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนนึกไม่ถึงคือ มะพร้าว ปลูกได้ดีในดินทรายเช่นเดียวกัน

                หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ เพราะผมเองก็อาจได้มีโอกาสไปทำเกษตรอยู่แถวๆ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ใครหลายคนบอกว่า เป็นดินทราย ปลูกอะไรก็ไม่ค่อยจะขึ้น จึงอยากไปลองดูบ้าง แต่ยังรอโอกาสอยู่เพราะทั้งระยะทางและเรื่องการงาน เอาเป็นว่าหากมีโอกาสจะลงรูปมาให้ดูกันนะครับ สำหรับการทำเกษตรในพื้นที่ดินทราย

ขอบคุณที่มา : www.kasetorganic.com
http://www.acfs.go.th
.....................................................................................


จุลินทรีย์ปลวกย่อยสลายฟางข้าว
ข้อดีของจุลินทรีย์ปลวก ทำเองได้ง่าย ต้นทุนศูนย์บาท ไม่ต้องซื้อกากน้ำตาล ประสิทธิภาพ ย่อยสลายของแห้ง ไม้แห้ง ย่อยฟางข้าวได้
มันน่าสนใจค่ะ เลยได้ทดลองทำดู และหลังจากนำไปใช้จุลินทรีย์ปลวกย่อยสลายฟางข้าวได้ดีมาก (อย่างที่ว่า) ที่เห็นผลชัดเจนเลยเห็นจะเป็นเห็ดโคนที่ขึ้นมาเต็มพื้นที่บริเวณที่ถูกรดด้วยน้ำจุลินทรีย์
อีกอย่างนะคะมะนาวที่ปลูกไว้หลังบ้านมา 4-5 ปี ไม่เคยได้กินลูก หลังจากถูกรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ปลวก ออกลูกดกมากแถมลูกใหญ่ด้วย และทยอยออกลูกมาเรื่อยๆ ค่ะตั้งแต่ต้นปี จนถึงขณะนี้ (กรกฏาคม) ยังมีลูกมะนาวให้ได้กินแบบต่อเนื่อง ส่วนข้อเสียของเค้ามีอยู่น้อยนิดนะคะ คือมีกลิ่นค่อนข้างแรงจากข้าวสุกและโคนจากจาวปลวก
วิธีทำ
อันดับแรกลองมองหาจอมปลวกตามหัวไร่ปลายนาก่อนนะคะ จากนั้นขุดลงไปข้างในโพรงปลวกจะมี "จาวปลวก" ลักษณะเหมือนรังผึ้ง ให้นำสิ่งนั้นออกมาค่ะ ปริมาณที่ใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม
จาวปลวก
ข้าวเหนียวนึ่ง 1 กิโลกรัม ทิ้งไว้ให้เย็น
คลุกเคล้าให้เข้ากัน
นำไปผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร
ปิดฝาภาชนะให้สนิททิ้งไว้ 7 วัน

** จะมีฝ้าขาวๆขึ้นมาเต็มเลย สามารถนำไปใช้ได้เลย ที่ฟาร์มใช้อัตราส่วนประมาณ 1 ลิตร /น้ำ 10 ลิตรใช้ฉีดพ่นเพื่อย่อยสลายเศษวัชพืช(หมักทำปุ๋ยหมัก)  หรือย่อยสลายตอซังข้าวก่อนทำการไถประมาณ 7 วัน  หลังจากนั้นไถกลบ และหากจะนำไปรดโคนต้นเพื่อบำรุงพืชผลอื่นๆก็ได้เช่นกันค่ะ ในอัตราส่วนข้างต้น ไม่ตายตัวสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน**
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลุงเบิ้มฟาร์ม


...........................................................................................................................
 การทำแก๊สชีวภาพชีวภาพจากมูลโค

การเตรียมอุปกรณ์
1. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ พร้อมฝาปิด 
2. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 200 ลิตร 1 ใบ เปิด
3. ถังพลาสติกขนาดบรรจุ 180 ลิตร 1 ใบ
4. ท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้ว 
5. ข้อต่อท่อ PVC  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2  นิ้วเกลียวนอกและเกลียวใน จำนวน 4 ตัว ข้อต่องอ 1 ตัว
6. ท่อ PVC 4 เกลียวนอกเกลียวใน วาวเปิด-ปิด
7. ท่อยางน้ำสายอ่อน
8. กาวซิลิโคน
วิธีทำถังหมักแก๊ส
1. เจาะถังด้านบนเพื่อใส่มูลโค ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว ยาวเกือบถึงก้นถัง ด้านบนที่เติมมีฝาปิด เพื่อใส่เศษอาหารแต่ละมื้อ กับช่องประคองแกนกวนปฏิกูล
2.  เจาะถังด้านข้างถัง ขนาด 2 นิ้ว เพื่อให้สิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายแล้วไหลออกและใช้ข้อต่องอสูงขึ้นบน
3. เจาะรูถังด้านบน ขนาด 4 หุน ใส่วาวปิดปิดด้านบนเพื่อนำแก๊สไปใช้หรือเก็บ
4. ถังสำหรับใส่สิ่งปฏิกูล เป็นถังหูหิ่ว 
5. สายยางอ่อนเพื่อใช้ต่อสายไปใช้และเก็บ
วิธีทำถังเก็บแก๊ส
1. นำถัง 200 ลิตร เปิดฝาและใส่น้ำให้เต็ม
2. ใช้ถัง 180 ลิตร เปิดฝาและคว้ำลงในถังแรก
3. เจาะรูก้นถัง 180 ลิตร 1 รู เพื่อใช้แก๊สและเก็บ
วิธีหมักมูลสัตว์ที่ทำให้เกิดแก๊ส 
1. ใช้มูลโคสด ผสมกับน้ำเปล่าอัตราส่วนผสมครั้งแรก น้ำเปล่า 35 ลิตร/มูลโคสด 35 ลิตร ผสมให้เข้ากัน  ใส่ครั้งต่อไปอาทิตย์ละ 1 ครั้ง อัตรา น้ำเปล่า 5 ลิตร/มูลโคสด 5 ลิตร ผสมกันให้เข้ากัน เปิดช่องทางระบายด้านข้างเพื่อให้ปฏิกูลส่วนเกินไหลออกมา ปริมาณ 1 กก. 
2. เกิดการย่อยสลาย สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี
 แผนผังการทำแก๊สมูลโค
ผลที่ได้รับ  
1. เป็นการส่งเสริมแนวความคิดในการประยุกต์ใช้พลังงาน และการใช้สิ่งปฏิกูลให้เกิดประโยชน์
2. ประยุกต์ใช้ในครัวเรือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ในระยะเวลา 3 ปี จะประหยัดกว่าการซื้อแก๊สขนาดบรรจุ 15 กก. คิดเป็นเงิน 1,800 - 2,300 บาท)
ขอขอบคุณ 
แหล่งข้อมูล/ภาพ : บ้านไร่ศรีสุทัศน์


...........................................................................................................................

กังหันน้ำสูบน้ำ
แบบการติดตั้งกังหัน
กังหันน้ำสูบน้ำสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยความเร็วของกระแสน้ำที่ไหลเข้ากระแทกใบพัดของกังหันผ่านรางรีดน้ำที่ทำขึ้น เพื่อบังคับทิศทางการไหลของน้ำจากสายเดิม ให้เข้ามายังเส้นทางของน้ำที่ไหลผ่านกังหัน วิธีนี้จะช่วยรวมน้ำทั้งหมดในเส้นทางน้ำในกรณีหน้าแล้งที่น้ำน้อย และป้องกันกังหันกรณีที่น้ำมากในฤดูน้ำหลาก เมื่อวงล้อของกังหันหมุน จะส่งแรงขับผ่านมู่เลย์สายพานที่ติดอยู่กับเพลาของวงล้อไปสู่เครื่องสูบน้ำแบบชัก เครื่องสูบน้ำก็จะสามารถสูบน้ำจากลำน้ำต้นทางไปสู่พื้นที่เพาะปลุกได้ กังหันน้ำสูบน้ำแบบนี้ถ้าต้องการเพิ่มความแรงของน้ำที่จะปะทะกังหัน สามารถทำได้โดยปรับระดับของน้ำในรางต้นทางให้สูงกว่าปลายทาง แต่จะเหมาะสำหรับเครื่องสูบน้ำแบบชักเท่านั้น เนื่องจากเครื่องสูบน้ำแบบชักนี้ใช้ความเร็วรอบในการหมุนต่ำและตำแหน่งที่ติดตั้งจำเป็นต้องมีน้ำไหลผ่านตลอด



...........................................................................................................................
จักรยานสูบน้ำ
แบบการวางจักรยานสูบน้ำ
จักรยานเป็นจักรกลที่มีหลักการทำงานง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ใช้พลังงานต้นกำลังจากแรงปั่นของผู้ขี่ ไปหมุนเฟืองล้อทำให้ล้อหมุน นอกเหนือจากการใช้จักรยานเป็นพาหนะแล้ว ยังสามารถดัดแปลงโครงจักรยานมาใช้เป็นต้นกำลังฉุดปั้มน้ำแทนมอเตอร์ไฟฟ้า หมุนเครื่องปั่นไฟฟ้า หมุนเครื่องบด หมุนเครื่องซักผ้า และอื่น ๆ อีกมากมาย นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ส่งเสริมวิถีชีวิตพอเพียง ลดต้นทุนด้านพลังงาน ซ้ำยังช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง
...........................................................................................................................
น้ำส้มควันไม้และคุณสมบัติ
น้ำส้มควันไม้ (Wood vinegar) เป็นของเหลวซึ่งได้จากกระบวนการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนอย่างเดียว หรือการเผาไหม้ไม้ฟืนในสภาพอับอากาศ หรือ การไพโรไลซิส (Wood pyrolysis) ของเหลวดังกล่าวจะใสสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเกิดจากการดักเก็บควันที่ถูกควบแน่นให้

การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำมาใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้ถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้น ควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันอุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน (Tar) และสารระเหยง่าย (Volatile matter) ปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้ เพราะจะไม่ไปปิดปากใบของพืช และการเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้น หากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดานรากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มไม้แล้วต้องทิ้งช่วง และมีการทำให้น้ำส้มไม้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 3 เดือน แล้วต้องเก็บไว้ในที่เย็น ร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงและไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้ง น้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอุลตราไวโอเลทในแสงอาทิตย์เป็นน้ำมันดิน ซึ่งน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี ดังที่กล่าวไปแล้ว
การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้
ด้านการเกษตร
เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนนำไปใช้ต้องนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งอัตราส่วนที่ต่างกันออกไปดังนี้
อัตราส่วน 1:20 หรือ ผสมน้ำ 20 เท่า ใช้พ่นลงดินเพื่อฆ่าจุลินทรีย์และแมลงในดิน เช่น โรคเน่าเละจากแบคทีเรีย โคนเน่าจากเชื้อรา ไส้เดือนฝอย ควรทำก่อนเพาะปลูก 10 วัน เพราะน้ำส้มควันไม้ ที่รดลงดินจะไปทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เกิดคาร์บอนโมโนออกไซด์(CO)ซึ่งเป็นพิษต่อพืช แต่เมื่อแก๊สคาร์บอนโมโนออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO) แล้วจึงจะสามารถปลูกพืชได้ รวมทั้งพืชจะได้รับประโยชน์จาก C2O
อัตราส่วน 1:50 หรือ ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้พ่นลงดินเพื่อฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นมากเกินไปรากพืชอาจได้รับอันตรายได้
อัตราส่วน 1:100 หรือ ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงไม่ให้วางไข่
อัตราส่วน 1:200 หรือ ผสมน้ำ 200 เท่า ใช้ฉีดพ่นใบไม้ รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืช ทุกๆ 7 – 15 วัน เพื่อขับไล่แมลงป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
อัตราส่วน 1:500 หรือ ผสมน้ำ 500 เท่า ใช้ฉีดผลอ่อน หรือ พืช เพื่อช่วยขยายผลให้โตขึ้น หลังจากติดตามผลแล้ว 15 วัน และฉีดพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้อีกด้วย เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ช่วยการสังเคราะห์น้ำตาลและกรดอะมิโน ดังนั้นจึงเพิ่มทั้งผลผลิตและคุณภาพ
อัตราส่วน 1:1000 หรือ ผสมน้ำ 1000 เท่า เป็นสารจับใบ จะช่วยลดการใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ และสามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งที่เคยใช้
การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านปศุสัตว์
การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านปศุสัตว์ จะช่วยลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ โดยการใช้ครั้งแรกควรผสมน้ำ 100 เท่า หลังจากนั้นเพิ่มเป็นผสมน้ำ 200 เท่า จะกำจัดกลิ่นและลดจำนวนแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย แต่การให้โดยตรงโดยการผสมน้ำจะมีกลิ่นควันไฟ ควรนำไปผสมกับผงถ่านเสียก่อน โดยนำน้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร ผสมกับผงถ่าน 8 กิโลกรัม แล้วนำผงถ่านที่ชุ่มด้วนน้ำส้มควันไม้นี้ไปผสมกับอาหารสัตว์ 99 กิโลกรัม ก็จะได้อาหารสัตว์ 1 ตันพอดี ถ่านผสมอาหารสัตว์ จะมีคุณสมบัติแล้วประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยทำให้การย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารได้ดีขึ้น ทำให้สัตว์โตเร็วกว่าปกติ โดยใช้อาหารเท่าเดิม หรือใช้อาหารน้อยลง 5 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาเดิม
2. ช่วยยับยั้งการเกิดแก๊ส และดูดซึมโลหะหนักในกระเพาะอาหารทำให้สัตว์สุขภาพดี
3. ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย
4. ช่วยปรับปรุงคุณภาพ และลดปริมาณน้ำในเนื้อสัตว์ ทำให้คุณภาพของเนื้อสัตว์ดีขึ้นทั้งรสชาติ สี และกลิ่น
5. ช่วยปรับปรุงคุณภาพของไข่ ทำให้ไข่แดงใหญ่และเหนียวขึ้น ทั้งยังเพิ่มปริมาณวิตามิน และลดคลอเลสเตอรอล
6. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในนม
7. ช่วยยับยั้งการเกิดก๊าซแอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ลดกลิ่นของมูลสัตว์ ซึ่งช่วยให้สัตว์ไม่เครียด ทั้งยังเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ให้ดีขึ้นด้วย
8. ช่วยยับยั้งการฟักไข่ของแมลงในมูลสัตว์ ทำให้ลดปริมาณของแมลงในบริเวณฟาร์ม โดยเฉพาะแมลงวัน
การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ทั่วไป



นอกจากการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในเรื่องการเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
1. ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง
2. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 20 เท่า ใช้ราดทำลายปลวกและมด
3. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ
4. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะ เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและบริเวณชื้นแฉะ ใช้ดับกลิ่นกรงสัตว์เลี้ยง ใช้หมักขยะสดและเศษอาหารเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ประดับรอบบ้าน โดยต้องผสมน้ำอีก 5 เท่า หลังจากหมักแล้ว 1 เดือน
ข้อควรระวังในการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ ต้องทิ้งไว้หลังจากดักเก็บไว้อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน แยกเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำส้มควันไม้สำหรับนำไปใช้
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ระวังอย่าให้เข้าตา
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ในทางการเกษตร จะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชใช้แทนปุ๋ยไม่ได้
4. การใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดินเป็นโทษกับพืช ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด หากใช้กับพืชกินใบ ควรใช้ฉีดพ่นใต้ใบ เนื่องจากจะช่วยขับไล่แมลงใต้ใบ
6. การฉีดน้ำส้มควันไม้เพื่อช่วยให้ดอกติดใบ ควรฉีดก่อนที่ดอกจะบาน เนื่องจากหากฉีดหลังจากดอกบานจะทำให้แมลงไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะหลุดร่วงง่าย

2 ความคิดเห็น:

  1. ทุกเรื่องที่ได้อ่านเป็นสาระความรู้ที่มีประโยชน์ต่อทุกคนครับ

    ตอบลบ
  2. ดินร่วนปนทรายหรือดินทรายเป็นดินที่มีอินทรียวัตถุน้อย ธาตุอาหารต่างๆ แทบจะไม่มีเลย ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก

    ตอบลบ