ตามรอยพ่อ

"คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิับัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง"
พระราชดำรัส ในพระราชพิธีบวงสรวง สามเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า
วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2525

"ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันก็เกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง.................."

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540

ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยไดรับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้นำไปเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดใด อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
ประหยัดอดออม ในการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เราจะต้องคำนึงถึงความจำเป็น ความเหมาะสม คุณภาพของสินค้า รวมทั้งประโยชน์การใช้สอยเป็นเบื้องต้น ในการพิจารณาไม่ควรยึดติดกับยี่ห้อ ความทันสมัยของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนสินค้าที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้อหา
ภูมิใจในอาชีพตนเอง การประกอบอาชีพที่ซื่อสัตย์สุจริต เป็นหนทางนำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จในชีวิต และครอบครัว ดังนั้นแม้ว่าจะปรอบอาชีพอะไรก็ตาม ขอให้ทุกคนจงภูมิใจในอาชีพที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เมื่อสำนึกในหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดแล้ว ชุมชนและสังคมของเราก็จะมีความสุขติดตามมา 

สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทุกคนที่อาศัยในชุมชนแต่ละท้องถิ่นสามารถช่วยเหลือชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมได้ เช่าตลาดนัดชุมชน สหกรณ์ชุมชน หมู่บ้าน หรือตลาดน้ำ ซึ่งแต่ละคนจะนำผลผลิตของตนเองมาวางจำหน่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน โดยใช้พื้นฐานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ทำให้มีเงินหมุนเวียนในชุมชน และไม่ต้องผ่านมือพ่อค้าคนกลาง 

จัดการผืนดินให้เกิดประโยชน์ ไม่ควรปล่อยให้ผืนแผ่นดินว่างเปล่า ควรศึกษาวิธีการปรับปรุงผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรฐบริโภคตลอดทั้งปี ถ้าเหลือจากการบริโภคแล้ว สามารถนำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว 

พออยู่พอกิน ควรสร้างผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการในครอบครัวเท่านั้น หากมีเหลือจากการบริโภคแล้ว จึงค่อยนำไปจำหน่าย เป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว ซึ่งไม่ถึงกับร่ำรวย แต่ก็ไม่จน ไม่เป็นหนี้สิน พออยู่พอกิน นับเป็นชีวิตที่มีความสุข 

รู้รักสามัคคี ชาวนาในชนบทห่างไกลหลายจังหวัด ยังใช้วิธีลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งทำมาแต่ดั้งเดิม คือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกื้อกูลกัน มีความรักสมัครสมานสามัคคีต่อกัน ทำให้ไม่ต้องจ้างแรงงาน เสียทรัพย์สินเงินทอง พวกเขาเหล่านั้น จึงมีชีวิตที่มีความสุข พออยู่พอกินด้วยกันทุกคน
เทคโนโลยีท้องถิ่น การที่เรารู้จักนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ โดยใช้ภูมิปัญญาและแนวคิดให้เหมาะสม ทำให้เกิดเทคโนโลยีท้องถิ่นช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับชีวิต และชุมชน ช่วยให้เกิดเครื่องมือในการทำงาน โดยไม่ต้องซื้อหาให้สิ้นเปลือง

ผลผลิตชุมชน การนำผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคออกมาวางจำหน่าย นับเป็นการเสริมรายได้ให้กับครอบครัวทางหนึ่ง และยังเป็นการกระจายรายได้ หมุนเวียนในชนบทอีกด้วย นับเป็นวิธีการหนึ่งบนเส้นทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง มีชีวิตแบบพอมีพอกินและยั่งยืน
สร้างความสุขทางใจ ควรสร้างความสุขทางจิตใจให้เกิดขึ้นสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ เทคโนโลยีต่าง ๆ ตามสมัยนิยม ควรมีความพอใจในสิ่งมี่ตนเองมีอยู่ ความสุขทางใจสร้างได้ด้วยการให้และการช่วยเหลือสังคม โดยที่ตนเองไม่เดือดร้อน

ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ เมื่อมีเวลาว่างจาการทำงานแล้ว ควรใช้เวลานั้นให้เกิดประโยชน์ เช่น ผลิตเครื่องมือไว้ใช้เองในครัวเรือน โดยไม่ต้องซื้อหา ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว ถ้าทำได้จำนวนมาก ๆ แล้วสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง
ครอบครัวอบอุ่น ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญทางสังคม แนวคิดทฤษฎีใหม่ จึงมุ่งเน้นให้เกษตรกรดำนินชีวิตที่พอเพียง พออยู่ พอกิน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันน้ำใจให้แก่กัน เพื่อชุมชนและสังคมที่ดี

2 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมไปเลย....ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ

    ตอบลบ
  2. ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ.. ดีมากๆครับบทความนี้

    ตอบลบ