วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาดุกในโอ่ง

สวัสดีค่ะ ผู้แวะเยี่ยมบล็อก นานาสาระเกษตร วันนี้จะนำสาระความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกในโอ่งแบบง่ายๆ มาให้ได้ดูกันค่ะ ที่ว่าง่ายๆ ก็คือ หาซื้อ ได้ไม่ยุ่งยาก เลี้ยงเอง กินเอง เหลือก็ขาย แล้วแต่ว่าจะมีเวลาสะดวกค่ะ สำหรับคนที่จะทำแบบจริงจัง ก็ให้ศึกษาตลาดของปลาดุกให้ดี ว่าเราจะขายที่ไหน หรือจะทำการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ยังไงจะนำเรื่องการแปรรูปของปลาดุกมีแบบไดบ้าง มีวิธีการไหนบ้างมาบอกกันในวันหน้าแล้วกันนะค่ะ

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์นั้น
 ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาดุก ดังนี้ 
1. เตรียมโอ่งซีเมนต์  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร  สูง 50 เซนติเมตร ส่วนบริเวณก้นโอ่งท่านควรจะมีท่อระบายน้ำเพื่อใช้สำหรับถ่ายน้ำออก
ก่อนที่ท่านจะนำปลาลงมาเลี้ยงนั้นควรจะเอาน้ำใส่โอ่งทิ้งไว้สักระยะหนึ่งและล้างโอ่งซีเมนต์ให้สะอาดไม่ควรให้มีคราบของปูนซีเมนต์หลงเหลืออยู่  หากคราบปูนซีเมนต์ยังออกไม่หมดอาจทำให้ลูกปลาดุกที่ท่านนำมาเลี้ยงตายได้  วิธีขจัดคราบปูนซีเมนต์ควรหาหยวกกล้วยมาแช่ในท่อซีเมนต์ประมาณ 2 สัปดาห์  จึงสามารถเอาหยวกกล้วยออกจากท่อซีเมนต์แล้วล้างภายในโอ่งให้สะอาด  จากนั้นก็เริ่มปล่อยน้ำเข้าโอ่งซีเมนต์โดยระดับน้ำที่จะเลี้ยงลูกปลาดุกไม่ควรสูงมาก  เพราะลูกปลาดุกจะขึ้นมาหายใจสะดวก ระดับน้ำสูงประมาณ 20 เซนติเมตร  ซึ่งในแต่ละท่อปูนซีเมนต์ควรใส่ลูกปลาดุก 80-100 ตัว เป็นจำนวนที่เหมาะสม ในระหว่างอนุบาลลูกปลาดุกท่านควรหาผักตบชวามาใส่บ่อบ้างเพราะลูกปลาดุกจะชอบเข้าไปอาศัยในรากของผักตบชวา  ลูกปลาดุกยังได้กินดินหรือแพลงก์ตอนในรากผักตบชวาอีกด้วย

โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาหรือพืชน้ำอื่นๆ ใส่ลงไปในบ่อซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเองโดยใช้กล้วยน้ำว้า  ฟักทอง  และมะละกอ  อย่างละ 3 กิโลกรัม สับให้ละเอียดจากนั้นนำมาคลุกผสมกับกากน้ำตาล 3 กิโลกรัม หมักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำน้ำสะอาดปริมาตร 9 ลิตร เทใส่ลงไปพร้อมกับคนให้ส่วนผสมดังกล่าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ 15 วัน หรือเมื่อมีกลิ่นหอมก็สามารถนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ


ขั้นตอนการปล่อยพันธุ์ปลา
นำลูกปลาดุกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ค่อยๆนำน้ำในโอ่งเติมไปทีละน้อย เพื่อปรับอุณหภูมิค่อยๆปล่อยลูกปลาดุกลงในโอ่งซีเมนต์โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาใส่ลงไปในท่อปูนซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม
และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเอง

วิธีการเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักชีวภาพ

                เมื่อเอาน้ำใส่โอ่งจนได้ที่แล้ว ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปเพียงเล็กน้อยตามความเหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีในน้ำหมักไปปรับสภาพน้ำให้เป็นปกติก่อน เมื่อนำปลาลงไปเลี้ยง ค่อยๆสังเกตคุณภาพน้ำและตัวปลาว่ามีอาการผิดปกติใดบ้าง

หากปกติก็ให้ใสน้ำหมักเพียงเล็กน้อยในรอบ 10 วัน หากว่าคุณภาพน้ำเปลี่ยนไปมากก็ให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพให้มากกว่าที่ใส่ปกติ รอบการใส่ก็ให้ถี่ขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนปลาและขนาดของโอ่งที่ใช้เลี้ยงด้วย


ผลที่ได้
ปลาเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง น้ำไม่มีกลิ่นเหม็น

แหล่งที่มา : gotoknow.org/blogs/posts/
ภาพบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต          


14 ความคิดเห็น:

  1. ปลาดุกไม่กระโดดออกจากโอ่งเหรอครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 ธันวาคม 2558 เวลา 23:34

    น่าสนใจมากๆเลยครับ

    ตอบลบ
  3. ขอคำแนะนำคับ
    1.โอ่งใบละเท่าไร
    2.ลูกปลาดุกซื้อขนาดไหนคับ

    ตอบลบ
  4. ขอคำแนะนำคับ
    1.โอ่งใบละเท่าไร
    2.ลูกปลาดุกซื้อขนาดไหนคับ

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. ราคาลูกปลา ขนาด1.5 นิ้วขึ้นไป
    ราคาท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  7. ราคาลูกปลา ขนาด1.5 นิ้วขึ้นไป
    ราคาท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
  8. ราคาลูกปลา ขนาด1.5 นิ้วขึ้นไป
    ราคาท่าไหร่คะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ซื้อที่จตุจักรมีนฯ 25 ตัว 50 บาท 100 ตัว 200 บาท

      ลบ
    2. ซื้อที่จตุจักรมีนฯ 25 ตัว 50 บาท 100 ตัว 200 บาท

      ลบ
    3. สนามหลวง 2 ราคาตัวละ 1 บาท

      ลบ
  9. ทำน้ำหมักกล้ยวสุกมะละกอสุกรึป่าวคัฟ

    ตอบลบ
  10. โอ่งเก่าหลายปีจำเป็นต้องเอาต้นกล้วยมาแช่น้ำในโอ่งเพื่อล้างคราบปูนก่อนหรือปล่าวครับ

    ตอบลบ
  11. โอ่งสูง 1.5 เมตรกว้าง 1 เมตร ปล่ยปลาเท่าไหร่ดีครับ

    ตอบลบ